ข้อห้ามและอันตราย ในการบินโดรน - SarayuthGolfhaha

Breaking

Home Top Ad

Responsive Ads Here

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

ข้อห้ามและอันตราย ในการบินโดรน

ยิ่งกว่ากฎหมาย คือ ความปลอดภัย
ทำไมถึงต้องมีข้อบังคับโดรน ?



1. ห้ามทำการบินเข้าไปใน เขตห้ามบินเด็ดขาด(Prohibited Area) เขตกำกัดการบิน (Restricted Area) และเขตการบินอันตราย (Danger Area) ตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (AIP –Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
----------
**เขตกำกัดการบิน เขตห้ามบินเด็ดขาด และเขตการบินอันตราย มีการประกาศใช้ทั่วโลก ถือเป็นมาตรฐานสากล

 2. - ผู้บังคับหรือปล่อยโดรนต้องสามารถมองเห็นโดรน ได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน
- ห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
- ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
---------
**การบินโดรนเข้าใกล้เมฆหรือบินในตอนกลางคืน ทำให้ทัศนะวิสัยในการมองเห็นน้อยลง มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อคน อาคารบ้านเรือน และ โดรนของท่านเอง ซึ่งเป็นไปตามประกาศทั่วโลก

 3. ห้ามบินโดรนในพื้นที่รัศมี 9 กิโลเมตร รอบสนามบิน
--------
** 9 กิโลเมตรรอบสนามบิน เป็นบริเวณการบินขึ้น-ลง ของอากาศยาน หากบินโดรนในบริเวณนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด อุบัติเหตุร้ายแรง ต่ออากาศยานได้


 4. ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร ( 300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
----------
**โดรนที่บินสูงเกินกฎหมายกำหนด 90 เมตร (300 ฟุต) อาจเกิดการชนกับอากาศยาน ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพราะในพื้นที่การบินปกติ ตามกฎการบินอากาศยานจะไม่บินลงมาต่ำกว่า ความสูง 500 ฟุต

5. ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
----------
**การบินในที่ชุมชน หากโดรนขัดข้องหรือเสียหาย แล้วตกใส่เขตชุมชน อาจเกิดความเสียหายต่อสิ่งของหรือได้รับบาดเจ็บถึงแก่ชีวิตได้

6. ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
----------
**การบังคับโดรน/UAV ที่เข้าใกล้อากาศยานมากเกินไปนั้น มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงมาก นำมาซึ่งความสูญเสียของเครื่องบิน ผู้โดยสาร ชุมชนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ กลายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างร้ายแรง

7. ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
----------
**การทำการบินโดรนเข้าใกล้บ้านเรือน ตึก หรือ อาคาร ที่พักของผู้อื่นนอกจากจะก่อให้เกิดความเดือดร้อน แล้วยังเป็นการรุกล้ำพื้นที่ความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น มีความผิดทางกฎหมายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

8. ห้ามทำการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญ แก่ผู้อื่น
----------
**เนื่องจากการบินโดรนโดยปกติ ใบพัดของโดรนจะทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียงกับผู้อื่น และยังทำให้เกิดความรำคาญทางสายตาได้

9. ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ ติดไปกับโดรน
----------
**การที่โดรนติดวัตถุอันตรายหรืออาวุธร้ายแรงถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการก่อการร้ายและเป็นการกระทำผิดทางกฎหมาย เช่น การขนส่งยาเสพติด ฯลฯ

10. ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (100 ฟุต)
----------
**หากทำการบินโดรนในแนวราบที่น้อยกว่าสามสิบเมตร มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดอันตรายต่อ ผู้คน และความเสียหายต่อยานพาหนะ และสิ่งก่อสร้าง


ขอบคุณข้อมูล :กองทัพอากาศไทย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

หน้าเว็บ